แผลที่กระจกตาไม่ยอมหาย (ATL011)

แผลที่กระจกตาไม่ยอมหาย (ATL011)

แผลที่กระจกตาไม่ยอมหาย (Persistent Epithelial Defect)

โดยปกติแล้วเมื่อกระจกตาเกิดแผลมักจะหายได้เองภายใน 7 วัน จากกระบวนการซ่อมแซมตนเองของร่างกาย หากแผลที่เกิดขึ้นไม่ลึก หรือเกิดแผลที่ชั้นหนังกำพร้าของกระจกตา (Epithelium) หลังแผลหาย กระจกตาจะกลับมาใสดังเดิม แต่ในบางกรณี แผลที่ตาไม่ยอมหาย หายช้า หรือเมื่อหายแล้วกลับมาเป็นอีก เช่นการเป็นโรค Bullous keratopathy, Band keratopathy หรือ ผู้ป่วยตาแห้งมาก เป็นต้น

รูปภาพแสดงให้เห็นถึงรอยแผลที่ชั้น Epithelium ของกระจกตา

ที่มา : https://www.reviewofoptometry.com/article/fixing-a-hole-how-to-heal-persistent-epithelial-defects

แผลกระจกตาที่ไม่ยอมหายมักจะสร้างปัญหาให้คนไข้เป็นอย่างมาก ซึ่งการใช้คอนแทคเลนส์จะช่วยแก้ปัญหาได้ ดังนี้

  1. เมื่อเป็นแผลที่กระจกตา เวลาที่กระพริบตาจะรู้สึกเจ็บปวดเนื่องจากเปลือกตาไปถูโดนแผลที่กระจกตาโดยตรง ดังนั้น การใส่คอนแทคเลนส์จะช่วยให้จะรู้สึกเจ็บปวดน้อยลงได้ เมื่อเทียบกับการปิดพลาสเตอร์ที่กระจกตา เนื่องจากเมื่อกระพริบตา เปลือกตาจะถูคอนแทคเลนส์แทน
  2. นอกจากคอนแทคเลนส์จะช่วยลดการเจ็บปวดแล้ว ยังช่วยให้แผลที่กระจกตาหายเร็วขึ้นด้วย เพราะแผลไม่โดนสัมผัสโดยตรง ทำให้แผลสามารถสมานตัวเองได้ไวขึ้น (ขอเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น สมมติว่าเรามีแผลที่หัวเข่า หากเราชนหรือถูแผลระหว่างที่แผลยังไม่หายดี ก็จะทำให้แผลถลอกซ้ำไปซ้ำมาไม่หายสักที แต่หากเราปิดพลาสเตอร์ยา ก็จะลดโอกาสที่แผลจะถูกสัมผัสโดยตรง ทำให้แผลหายไวขึ้น)
  3. การใส่คอนแทคเลนส์ โดยเฉพาะคอนแทคเลนส์กึ่งแข็งกึ่งนิ่ม ยังช่วยเรื่องการมองเห็นอีกด้วย เนื่องจากคอนแทคเลนส์กึ่งแข็งกึ่งนิ่มจะช่วยหักเหแสงแทนกระจกตา เพราะเมื่อกระจกตาเป็นแผลจะทำให้เกิดกระจกตาไม่เรียบ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนแม้จะใส่แว่นสายตา ศึกษากระจกตาไม่เรียบได้ที่  http://185.78.166.179/~drbirdcl/2020/04/27/3322/

รูปภาพแสดงให้เห็นถึงดวงตาที่ใส่ Bandage Contact Lens

นอกจากการใส่คอนแทคเลนส์เพื่อรักษาแผลที่กระจกตา (Bandage Contact Lens) แล้ว ยังมีการใช้คอนแทคเลนส์หลังการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตา เช่น PRK และ ใช้เพื่ออุดรูรั่วเล็กๆของดวงตา เป็นตา

อย่างไรก็ดี การใช้คอนแทคเลนส์ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านคอนแทคเลนส์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากการใช้คอนแทคเลนส์ในดวงตาที่เป็นแผลอยู่ อาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาดวงตาติดเชื้อเพิ่มขึ้น

ดร. วุฒิพงษ์ พึงพิพัฒน์ (ดร.เบิร์ด) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาและคอนแทคเลนส์ (O.D., M.Sc., FIAO, FAAOMC)

แชร์ไปที่ :

บทความอื่นๆ

ติดต่อนัดหมาย