FAQ : รวมคำถาม Scleral lens

FAQ : รวมคำถาม Scleral lens

Scleral lens คืออะไร?

ตอบ Scleral lens คือ คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งกึ่งนิ่มที่มีขนาดใหญ่กว่าตาดำ ทำมาเฉพาะคนที่มีค่าสายตาเยอะ หรือมีความต้องการเฉพาะที่คอนแทคเลนส์ชนิดอื่นไม่ตอบโจทย์ เช่น ปัญหากระจกตาไม่เรียบ

Scleral lens มีชื่ออื่นไหม? 

ตอบ Scleral contact lens, Scleral lens, Haptic Lens

Scleral lens มีมานานแล้วหรือยัง?

ตอบ มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยเรเนสซองส์ (Renaissance) โดยมาจากการสันนิษฐานเบื้องต้นของ Leonardo da Vinci อัจฉริยะบุคคลผู้เลื่องชื่อ ที่คิดว่าการจุ่มหน้าลงไปในน้ำสามารถเปลี่ยนการมองเห็นได้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Codex of the Eye และสร้างเลนส์แก้วที่มีช่องทางด้านหนึ่งที่เทน้ำลงไปได้ แต่เลนส์แก้วนี้ไม่สามารถใช้งานได้จริง

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : https://www.clspectrum.com/supplements/2016/october-2016/scleral-lenses-understanding-applications-and-max/scleral-lenses-past-and-present

จนในปี 1887 สองพี่น้อง Müller (Fredrich และ Albert) ได้ทำการเป่าแก้วขึ้นรูปเลนส์ที่บาง น้ำหนักเบา และมีขนาดใหญ่กว่าตาดำขึ้นมาเพื่อป้องกันอันตรายให้กับกระจกตา

 

 

 

 

 

ต่อมาในปี 1888 Adolf G.E. Fick และ Eugene Kalt จักษุแพทย์ ได้อธิบายว่าการใช้ Scleral lens สามารถหักเหแสงทำให้แก้ไขค่าสายตาได้ ภายในปีเดียวกันนี้เอง August Müeller นักศึกษาแพทย์ได้ทำเลนส์ขึ้นมาเพื่อแก้ไขค่าสายตาสั้น 14 D ของตัวเองได้สำเร็จ ถึงแม้คอนแทคเลนส์ที่ทำมาจากแก้วจะช่วยแก้ไขค่าสายตาได้ แต่ก็มีปัญหาออกซิเจนที่จะซึมผ่านกระจกตาได้น้อยลง เพราะปกติแล้วกระจกตาได้รับออกซิเจนจากอากาศเป็นหลัก อีกทั้งตัวเลนส์ค่อนข้างมีน้ำหนัก ใส่นานจะไม่ค่อยสบายตา และอายุการใช้งานไม่ยาวนาน

เมื่อวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นได้มีการทำ Scleral lens จากพลาสติก PMMA ที่มีน้ำหนักเบา ผลิตง่าย มีอายุการใช้งานนานกว่าแก้ว แต่ก็ยังพบปัญหาการขาดออกซิเจนอยู่ แต่จุดเปลี่ยนก็มาอยู่ที่ปี 1983 ได้มีการนำพอลิเมอร์มาเป็นส่วนผสม จนได้เลนส์กึ่งนิ่มกึ่งแข็งที่เรียกว่า Gas permeable แต่ก็ยังมีค่า Dk ที่ต่ำอยู่ ต่อมา Don Ezekiel, Ken Pullum และ Perry Rosenthal ได้พัฒนาการออกแบบเลนส์จนทำให้ Scleral lens เป็นที่รู้จักและเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นในช่วงกลางปี 1990 จนกระทั่งในช่วงปี 2000 ได้มีการพัฒนาวัสดุทำเลนส์ให้มีค่า Dk สูง ง่ายต่อการฟิตติ้ง และแก้ไขปัญหากระจกตาขาดออกซิเจนได้ในที่สุด ซึ่งวัสดุนั้นคือ ซิลิโคน (Silicone)

จะเห็นได้ว่า Scleral lens ได้ถือกำเนิดขึ้นก่อนคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มที่เริ่มใช้เมื่อปี 1958 แต่ด้วยความที่เทคโนโลยีสมัยนั้นไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องการให้ออกซิเจนซึมผ่าน การใช้งานที่ง่ายและสบายตา จึงส่งผลให้ในยุคนั้นคอนแทคเลนส์นิ่มได้รับความนิยมมากกว่า แต่ปัจจุบัน Scleral lens ทำมาจากพลาสติกชนิดพิเศษที่ผสมซิลิโคนที่มีค่า Dk สูง ออกซิเจนผ่านได้ดี การใช้งานต้องใส่น้ำเกลือไว้ในเลนส์ก่อนใส่เข้าตา ส่งผลให้ไม่มีปัญหาตาแห้งหรือขาดออกซิเจนตามมา อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่ชอบทำกิจกรรมต่างๆ เพราะตัวเลนส์มีขนาดใหญ่สามารถเกาะบนตาได้ดี ส่งผลให้ Scleral lens เป็นที่นิยมมมากขึ้นเรื่อยๆ

ใส่ Scleral lens ทำไมต้องเติมน้ำเกลือแล้วก้มหน้าใส่?

ตอบ Scleral lens เป็นเลนส์แข็งที่มีขอบวางอยู่บนตาขาว และผิวด้านหลังเลนส์ไม่สัมผัสกระจกตา ทำให้มีช่องว่างระหว่างกระจกตากับเลนส์ การใส่จึงต้องเติมน้ำเกลือและก้มหน้าใส่ ถ้าไม่เติมน้ำเกลือเข้าไปเมื่อใส่แล้วกระจกตาจะแห้ง แสบตา และมองเห็นไม่ชัด

Scleral lens เหมาะกับใคร?

ตอบ สามารถใช้ได้กับคนที่มีปัญหาต่างๆดังนี้

  • มีปัญหาค่าสายตาเยอะ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น ยาว หรือเอียง
  • มีปัญหากระจกตาไม่เรียบ (Irregular cornea) หากใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม ตัวเลนส์จะแนบไปกับกระจกตา ทำให้แสงไม่โฟกัสไม่เป็นระเบียบ
  • ไม่อยากใส่แว่นที่มีเลนส์หนา
  • ไม่สามารถทำเลสิคได้
  • มีปัญหาหลังทำเลสิค
  • มีปัญหาตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์นิ่ม
  • มีปัญหาตาแห้งอย่างรุนแรง (Severe dry eyes)
  • ผ่าตัดกระจกตา
  • แผลกระจกตาหายช้า โดย Scleral contact lens จะปิดไม่ให้แผลได้รับการเสียดสี
  • คนที่ชื่นชอบกิจกรรมทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ หรือดำน้ำ เนื่องจากเลนส์มีขนาดใหญ่กว่าตาดำและมีความแข็ง ทำให้เลนส์เกาะอยู่บนกระจกตาได้ดีกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ
  • ผู้ที่อยากใส่คอนแทคเลนส์ แต่ไม่สามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้เนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น ตาแห้ง หรือค่าสายตาเยอะ

ภาพการใส่ Scleral lens ในผู้ที่มีปัญหากระจกตาไม่เรียบ

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการใส่-ถอด และดูแลรักษาเลนส์

ตอบ ก่อนใส่เลนส์ต้องใส่น้ำเกลือไว้ที่ตัวเลนส์ ก้มหน้าขณะใส่เลนส์ โดยอาจจะใช้จุ๊บเป็นตัวประคองเลนส์ก่อนใส่เข้าไปในตา

การถอดทำได้โดยใช้จุ๊บ หรือไม่ใช้จุ๊บ

 

 

 

 

 

การดูแลรักษาใช้น้ำยาคนละชนิดกับคอนแทคเลนส์นิ่ม ซึ่งก็คือน้ำยา Clean care ที่ใช้แช่เลนส์ก่อนนำมาใช้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง

อายุการใช้งานเฉลี่ยกี่ปี?

ตอบ 4-5 ปี

มีข้อควรระวังในการใช้อะไรบ้าง?

ตอบ ต้องมีการตรวจติดตามผล เพื่อให้ได้ความแม่นยำและการมองเห็นที่ดีที่สุด

ค่าสายตาสูงสุดที่สามารถแก้ไขได้?

ตอบ จากประสบการณ์ที่ทำการฟิตติ้งคอนแทคเลนส์มาพบว่า ยังไม่มีค่าสายตาไหนที่ Scleral lens แก้ไขไม่ได้

เคยใส่คอนแทคเลนส์นิ่มแล้วตาแห้ง จะใส่ Scleral lens ได้หรือไม่?

ตอบ ใส่ได้ เนื่องจาก Scleral lens มีค่าการอุ้มน้ำต่ำ (Water content) ทำให้ตัวเลนส์ไม่ดูดน้ำจากชั้นน้ำตา และด้วยโครงสร้างของเลนส์ที่ไม่ได้สัมผัสกับกระจกตา เมื่อมีการใส่น้ำเกลือเข้าไปก่อนที่จะใส่บนตา (Precornear fluid reservoir) น้ำเกลือจึงเป็นตัวที่ให้ความชุ่มชื้นแก่กระจกตาเราตลอดเวลา ในขณะที่คอนแทคเลนส์นิ่มมีค่าการอุ้มน้ำที่สูง ทำให้ดูดน้ำจากชั้นน้ำตาของเราเข้าไปในตัวเลนส์ ส่งผลให้เกิดอาการตาแห้งตามมา

ภาพ Scleral lens ขณะอยู่บนตา

 

 

 

 

 

ระยะเวลาในการใส่ Scleral lens ต่อวัน?

ตอบ ใส่ได้ยาวนานตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละคน

ถ้าใส่ไปนานๆเลนส์จะเสียดสีกระจกตาหรือไม่ เพราะเป็นเลนส์แบบกึ่งนิ่มกึ่งแข็ง?

ตอบ ไม่เสียดสีกระจกตา เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเลนส์กับกระจกตา

Scleral lens ใส่แล้วจะสบายตาไหม?

ตอบ ด้วยความที่เลนส์เป็นแบบกึ่งนิ่มกึ่งแข็งอาจทำให้การใส่ในครั้งแรกๆมีอาการเคืองตาเล็กน้อย แต่ถ้าใส่ไปเรื่อยๆก็จะสามารถปรับตัวได้ โดยจากการสอบถามจากผู้ที่ใช้จริงพบว่าสามารถใส่เลนส์ได้นานถึง 14 ชั่วโมง ทั้งนี้ความสบายตาจะมากหรือน้อยยังขึ้นอยู่กับความ Sensitive ของแต่ละบุคคลด้วย และควรได้รับการฟิตติ้งจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ต่างๆของเลนส์ให้เหมาะสมกับดวงตาแต่ละคน เพื่อให้การใส่ Scleral lens ได้ทั้งความคมชัดของภาพและความสบายตา

Scleral Lens มีการฟิตติ้งกี่แบบ?

ตอบ มี 2 แบบ

  1. Trial lens fitting เป็นการใช้ชุดเลนส์ทดลองให้พอดีกับตาที่สุด แล้วทำการปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆจากเลนส์นั้นให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
  2. Eye print (3D scan) เป็นการใช้เครื่องมือสแกนรูปตา ซึ่งได้ความพอดีมากกว่า Trial lens fitting โดยปัจจุบันหมอเบิร์ดได้มีเครื่องมือแสกนตาสามมิติเครื่องแรกของ South East Asia ที่สามารถสแกนผิวดวงตาคลอบคลุมทั้งตาดำและตาขาว ขนาดใหญ่สุดถึง 18 มิลลิเมตร ทำให้สามารถนำข้อมูลผิวดวงตาที่ได้ไปออกแบบเลนส์ที่พอดีกับดวงตา

แชร์ไปที่ :

บทความอื่นๆ

ติดต่อนัดหมาย