ข้อเสียของสายตาสั้น

ข้อเสียของสายตาสั้น

ข้อเสียของสายตาสั้น

สายตาสั้น (Myopia) คือ ปัญหาสายตาที่แสงโฟกัสก่อนจอตา/สั้นกว่าจอตา ทำให้มองไกลไม่ชัด แต่มองใกล้ชัด

สาเหตุของสายตาสั้น มักเกิดจาก 3 สาเหตุ ได้แก่

  1. กระจกตา (Cornea) เป็นอวัยวะแรกของตาที่ใช้ในการหักเหแสง หากกระจกตามีความโค้งมาก แสงที่เข้าสู่ดวงตามีระยะโฟกัสสั้นลง ทำให้เกิดสายตาสั้น
  2. เลนส์ตา (Lens) ทำหน้าที่รวมแสงเข้าสู่ตา หากเลนส์ตานูนมากเกินไปทำให้ระยะโฟกัสสั้นลง ทำให้เกิดสายตาสั้น
  3. ความยาวกระบอกตา (Axial length) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักที่ทำให้สายตาสั้นมากกว่า 2 ข้อที่กล่าวไปข้างต้น โดยสายตาที่สั้นเพิ่มขึ้น มาจากการที่กระบอกตายาวขึ้น (Axial length elongation) จอตาขยับไปไกลขึ้น ในขณะที่แสงมีจุดโฟกัสที่เดิมในตา ทำให้แสงยิ่งโฟกัสสั้นกว่าจอตา

ภาพแสดงการโฟกัสแสงในตาคนปกติ (Normal eye) ซึ่งแสงตกพอดีบนจอตา ทำให้มองไกลชัด ในขณะที่ภาพด้านล่างที่กระบอกตายาวขึ้น ทำให้จอตาขยับไปไกล แต่แสงยังโฟกัสที่จุดเดิม จึงทำให้มองไกลไม่ชัด เกิดเป็นสายตาสั้นนั่นเอง

ที่มา : https://www.kidsorthok.com.au/myopia-control.html

 

ข้อเสียของสายตาสั้น มี 10 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. จอประสาทตาหลุดลอก (Retinal detachment) เกิดจากการที่จอประสาทตา (Retina) ไม่แนบติดไปกับลูกตา ส่งผลให้จอตาไม่ได้รับสารอาหาร หากปล่อยไว้นานจะทำให้เซลล์บริเวณนั้นตาย และเกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร โดยจากอธิบายไปข้างต้นแล้วว่าสายตาสั้นสาเหตุหลักมักเกิดจากการที่กระบอกตายาวขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้มองเห็นไม่ชัด แต่ทำให้โครงสร้างต่างๆภายในลูกตาขยาย เสมือนการเป่าลูกโป่งให้ใหญ่ขึ้น ผนังลูกโป่งบางลง ส่งผลให้ลูกโป่งแตกง่ายขึ้น เช่นเดียวกับจอประสาทตา ที่ถูกยืดหรือขยายให้บางลงเมื่อกระบอกตายาวขึ้น

ที่มา : https://www.allaboutvision.com/conditions/retinadetach.htm

 

2. ความผิดปกติที่เกิดจากการยืดของลูกตาส่วนหลัง (Posterior staphyloma) ทำให้ลูกตาไม่กลม ส่งผลให้เกิดอาการตามัวอย่างรวดเร็ว

ที่มา : https://tmdu-ganka.jp/english/PathologicMyopia.html

 

  1. ต้อหิน (Glaucoma) เกิดจากความดันในลูกตา (Intraocular pressure) ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการทำลายเส้นประสาทตา ส่งผลให้ตาบอดอย่างถาวร

ที่มา : https://www.evergreeneye.com/glaucoma-seattle/

 

  1. จอประสาทตาเสื่อม (Myopic macular degeneration) เกิดจากการเสื่อมของบริเวณจุดรับภาพชัด (Macula) ของจอตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางของภาพ                                                                                                                         

ที่มา : https://imagebank.asrs.org/file/10884/myopic-degeneration-fundus-image

 

ภาพแสดงการสูญเสียการมองเห็นส่วนกลางของภาพ

ที่มา : https://www.graceandvision.com.au/blog/changes-in-your-eyes-after-age-40-macular-degeneration/

 

  1. การฝ่อของจอประสาทตา (Myopic chorioretinal atrophy) ทำให้ลานสายตาหายไปเป็นหย่อมๆ หากเกิดขึ้นบริเวณจุดรับภาพชัด (Macula) จะทำให้ตามัวลงมาก

ที่มา : https://www.retinalphysician.com/issues/2019/november-2019/diagnosis-and-management-of-pathologic-myopia

 

  1. ขั้วประสาทตาผิดปกติ (Myopic optic neuropathy) โดยในภาพ A คือ ขั้วประสาทตาที่ปกติ ในขณะที่ภาพ B และ C บริเวณที่ลูกศรชี้ จะเป็นเสี้ยวสีขาวรอบขั้วประสาทตา (optic nerve crescent) ซึ่งเกิดจากตาขาว (sclera) ยืดออกกว่าปกติ ทำให้ชั้น choroid และจอตาไม่เชื่อมที่ขอบของขั้วประสาทตา

ที่มา : https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/1120672120945901?journalCode=ejoa

  1. เห็นภาพบิดเบือนเมื่อมองผ่านแว่น (Distorted vision) ทั้งในคนที่สายตาสั้นและยาวมากๆ โดยในคนสายตาสั้นภาพที่เห็นจะมีขนาดเล็กลงร่วมด้วยเนื่องจากคุณสมบัติของเลนส์เว้า
  2. ด้านความสวยงาม (Cosmetic) เมื่อใส่เลนส์สายตาสั้นมากๆ บริเวณขอบหน้าและตาจะดูมีขนาดเล็กลง เนื่องจากคุณสมบัติของเลนส์เว้าที่ย่อขนาดภาพ

ที่มา : https://www.reviewofoptometry.com/article/ro1217-take-it-to-the-limit

 

9. กระจกตาบางลง เมื่อผ่าตัดแก้ไขสายตาที่กระจกตา เช่น เลสิก PRK, Relex เพื่อให้การมองเห็นดีขึ้น เนื่องจากยิ่งค่าสายตาสูง ทำให้ต้องสลายเนื้อกระจกตามากขึ้น ส่งผลให้กระจกตาบางลง ความแข็งแรงน้อยลง

  1. ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งแว่นสายตา คอนแทคเลนส์ และการผ่าตัดแก้ไขสายตา โดยยิ่งค่าสายตามาก ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงตามไปด้วย เช่น การใช้เลนส์ย่อบางเพื่อลดน้ำหนักของเลน์ที่จะกดลงบนจมูก และลดภาพบิดเบือนบริเวณด้านข้างเมื่อมองผ่านเลนส์

ภาพเปรียบเทียบเลนส์ค่าสายตา -6.00 D ที่มี Index 1.5 และ Index 1.74 (เลนส์ย่อบาง)

ที่มา : https://coffmanvision.com/lenses/lens-materials/

____________________________________________

แชร์ไปที่ :

บทความอื่นๆ

ติดต่อนัดหมาย